วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

สงกรานต์


สงกรานต์

                    
         "สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้ายเข้าไป" ในที่นี้หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ ผ่านหรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์หากพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย ในช่วงเดือนอื่น ๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา ตามปกตินั้น พระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่งเป็นประจำทุกเดือน หรือจะเรียกว่าเป็นการย้ายจากกลุ่มดาวหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ตามหลักโหราศาสตร์หรือภาษาโหร เรียกว่า"ยกขึ้นสู่" ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ ก็คือการที่พระอาทิตย์ย้ายจากกลุ่มดาวราศีมีนไปสู่กลุ่มดาวราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไปนั่นเอง
โหรโบราณ ได้แบ่งท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน ส่วนหนึ่ง ๆ เรียกว่าราศี ซึ่งมีราศีละ 30 องศา รวม 12 ราศี ก็เท่ากับ 360 องศาครบรอบวงกลมพอดี ตามตัวอย่างข้างล่างนี้


ชื่อนางสงกรานต์
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ธิดาท้าวกบิลพรหมมีอยู่ด้วยกัน ๗ นาง ถ้าปีใดนางสงกรานต์ตรงกับ อะไรใน ๗ วัน นางทั้ง ๗ ก็ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมารับเศียรของบิดาตนเพื่อมิให้ตกลงสู่แผ่นดิน เพราะ จะเกิดฝนแล้งไฟไหม้โลก นางทั้ง ๗ มีชื่อต่างๆ กันและแต่งกายก็แตกต่างกันออกไป ประกอบกับอาวุธ ที่ถือก็แตกต่างกันด้วย ดังนี้
วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษะ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราช ( แก้วทับทิม ) ภักษาหาร อุทุมพร ( ผลมะเดื่อ ) อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ
วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราคะ ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารเตละ (น้ำมัน) อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะพยัคฆ์ ( เสือ )
วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษก ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับแก้วโมรา ภักษาหาร โลหิต ( เลือด ) อาวุธขวาตรีศูล ( หลาว ๓ ง่าม ) ซ้ายธนู พาหนะวราหะ ( หมู )
วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะคัทรภา ( ลา )
วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ กิริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะคช (ช้าง)
วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิทิมา ทัดดอกจงกลณี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะมหิงส์ ( ควาย )
วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโหธร ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรี พาหนะมยุรา ( นกยูง )

ประเพณีการทำบุญในวันสงกรานต์
 แม้ เราจะถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีมใหม่ตามหลักสากล แต่ธรรมเนียมไทยยังให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์อยู่ โดยถือเอาเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบไทย ดังนั้นเมื่อใกล้ถึงวันสงกรานต์การตระเตรียมทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน และเตรียมข้าวของที่จะทำบุญตักบาตร

การทำบุญตักบาตรและการสร้างกุศลด้วยการปล่อยนกปล่อยปลา
สมัย โบราณ เมื่อถึงวันสงกรานต์ประชาชนจะพากันตื่นแต่เช้ามืด เตรียมหุงข้าวต้มแกง เพื่อนำไปทำบุญที่วัด ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่สีสันสดใส โดยเฉพาะหนุ่มสาวเพราะจะได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันได้อย่างสะดวก แต่ก็ต้องอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่
เมื่อทำบุญตักบาตรหรือเลี้ยงพระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีการบังสุกุลอัฐิของบรรพบุรุ ผู้ล่วงลับเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งเป็นการขนทรายเข้าวัดสำหรับไว้ใช้ในงานก่อสร้างโบสถ์วิหาร มีการปล่อยนกปล่อยปลาซึ่งเท่ากับเป็นการแพร่ขยายพันธ์สัตว์ให้คงอยู่ไปชั่ว ลูกชั่วหลาน และที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือการสรงน้ำพระการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ รวมไปจนถึงการเล่นสาดน้ำกันเองในหมู่หนุ่มสาว
การสรงน้ำพระพุทธรูป,การสรงน้ำพระสงฆ์
ชาวบ้านจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ เพื่อความเป็นสิริมงคล บางแห่งมีการอัญเชิญพระพุทธรูปแห่แหนไปรอบๆหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้สรงน้ำกันอย่างทั่วถึงหรือจะอัญเชิญพระพุทธรูปจาก หิ้งบูชาในบ้านมาทำพิธีสรงน้ำกันในหมู่ญาติพี่น้องก็ได้
ชาวบ้านจะได้ไปชุมนุมกันที่วัด นิมนต์พระในวัดมายังสถานที่ประกอบพิธี การรดน้ำควรรดที่มิอของท่าน ไม่ควรตักราดเหมือนกับเป็นการอาบน้ำจริง ๆ เพราะพระสงฆ์ถือเป็นเพชที่สูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำฝนหรือน้ำสะอาดผสมน้ำอบไทย เมื่อสรงน้ำแล้วพระท่านก็จะให้ศีลให้พรเพื่อความเป็นสิริมงคล
การรดน้ำดำหัวขอพรญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือ
การ รดน้ำผู้ใหญ่ หากระทำกันเองในบ้าน ลูกหลานจะเชิญพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติผู้ใหญ่ มานั่งในที่จัดไว้ แล้วนำน้ำอบน้ำหอมผสมน้ำมารดให้ท่าน อาจรดที่มือหรือรดทั้งตัวไปเลยก็มีในระหว่างที่รดน้ำท่านก็ให้พรแก่ลูกหลาน เสร็จพิธีแล้วจึงผลัดนุ่งผ้าใหม่ที่ลูกหลานจัดเตรียมไว้ให้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ส่วนใหญ่จะมีผ้าใหว้เช่นเสื้อผ้าและผ้าขาวม้าไปมอบให้ด้วย การรดน้ำส่วนใหญ่จะรดที่มือ ขอศีลขอพร เป็นการแสดงความเคารพผู้มีอาวุโสและผู้มีพระคุณตามธรรมเนียมอันดีของไทย บางหมู่บ้านอาจเชิญคนแก่คนเฒ่ามารวมกัน แล้วให้ลูก ๆ หลาน ๆ ทำพิธีรดน้ำขอพร ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามที่ควรช่วยกันส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้

การเล่นสาดน้ำสำหรับหนุ่มสาว
หลัง จากทำพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ และรดน้ำขอพรจากญาติผู้ใหญ่แล้ว พวกหนุ่ม ๆสาวๆ ก็จะเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งน้ำที่ใช้นำมาสาดกันนั้นต้องเป็นน้ำสะอาดผสมน้ำอบมีกลิ่นหอม เด็กบางคนไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมถึงจุดประสงค์ของการเล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์ เอาน้ำผสมสีหรือผสมเมล็ดแมงลัก แล้วนำไปสาดผู้อื่น ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง สถานที่เล่นสาดน้ำสวนใหญ่เป็นลานวัด หรือลานกว้างของหมู่บ้าน พอเหนื่อยก็จะมีขนมและอาหารเลี้ยง ซึ่งชาวบ้านจะช่วยกันเรี่ยไรออกเงินและช่วยกันทำไว้ จนถึงตอนเย็นจึงแยกย้ายกันกลับไปบ้านเพื่ออาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ แล้วมาชุมนุมกันที่ลาดวัดอีกครั้ง เพื่อร่วมการละเล่นพื้นเมือง
การละเล่นพื้นบ้านในวันสงกรานต์
การ ละเล่นพื้นบ้านหรือจะเรียกว่ากีฬาพื้นเมืองก็ได้ เป็นเกมที่สร้างความสนุกสนานสามัคคี และความใกล้ชิดผูกพันพวกหนุ่ม ๆสาว ๆ จะแบ่งกันเป็นสองฝ่าย จัดทีมเพื่อเล่นแข่งขันกับฝ่ายตรงข้าม มีผู้ใหญ่เป็นกรรมการหรือผู้ควบคุม ส่วนคนเฒ่าคนแก่ก็คอยส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจอยู่วงนอก
การ ละเล่นที่นิยมนำมาเล่นกันในงานสงกรานต์ มีหลายอย่าง เช่น ชักเย่อ ไม้หึ่ง งูกินหาง ช่วงชัย วิ่งเปี้ยว เขย่งแตะ หลับตาตีหม้อ มอญซ่อนผ้า สะบ้า ขี่ม้าส่งเมือง ลิงชิงหลัก ฯลฯ นอกจากนั้นมีการเล่นเพลงยาว ลำตัด รำวง ฯลฯ การประกวดนางสงกรานต์ซึ่งแต่ละกิจกรรมร่วมสร้างความสนุกสนานเป็นกันเอง หนุ่มสาวได้มีโอกาสใกล้ชิดกัน ได้ศึกษาดูนิสัยใจคอ ได้มีโอกาสพูดจาโอภาปราศรัยกัน
ประเพณีการทำบุญและการละเล่นในวันสงกรานต์แต่ละท้องถิ่นอาจ มีผิดแตกต่างกันไปบ้างตามความและยุคสมัยในชนบทอาจกำหนดวันทำบุญและวันสรงน้ำ พระไม่ตรงกันในแต่ละหมู่บ้าน ด้วยเหตุนี้ พวกหนุ่ม ๆจึงมีโอกาสไปเล่นสงกรานต์ได้หลายแห่งในแต่ละปี วันสงกรานต์จึงถือเป็นประเพณีหนึ่งในหลาย ๆ ประเพณีของไทยแต่โบราณ ที่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เลือกคู่หรือดูอุปนิสัยใจคอกันโดยเปิดเผยโดยไม่ ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ต่อสายตาผู้ใหญ่

กิจกรรมวันสงกรานต์
การทำบุญตักบาตร
ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
การสรงน้ำพระ
จะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
การรดน้ำผู้ใหญ่
คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
การดำหัว
ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
การปล่อยนกปล่อยปลา
ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
การนำทรายเข้าวัด
ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด

ความสำคัญของวันสงกรานต์
- เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประเพณีไทย และถือเป็นวันหยุดประกอบการงานหรือธุรกิจทั่วไป
- เป็นวันทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระบังสกุลกระดูกพรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
- เป็น วันแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ในวันนี้จะมีการไปรดน้ำดำหัวขอพรจาก พ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ วันสงกรานต์ถือเป็น วันสูงอายุแห่งชาติ
- เป็นวันรวมญาติมิตรที่จากไปอยู่แดนไกลเพื่อประกอบภาระ หน้าที่งานอาชีพของตน เมื่อถึงวันสงกรานต์ทุกคนจะกลับมาร่วมทำบุญสร้างกุศล จึงถือเอาวันที่ 15 เมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงสงกรานต์เป็นวันรวมญาติหรือวันครอบครัว
- เป็นวันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และส่งเสริมการละเล่นตามประเพณีไทย เช่น มีการทำบุญตักบาตร เล่นสาดน้ำ ชักเย่อ มอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้า ฯลฯ
- เป็นวันประกอบพิธีทางศาสนา เช่น มีการทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ บังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ ขนทรายเข้าวัด (ก่อพระเจดีย์ทราย ) รับศีล ปฏิบัติธรรมฯลฯ


-----------------------------------------------------------------------------------------------------

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

10 อันดับที่เที่ยวสงกรานต์ยอดฮิตในประเทศไทย


10 อันดับที่เที่ยวสงกรานต์ยอดฮิตในประเทศไทย


สงกรานต์ไทยเราดี ดังไกลถึง ....
 มาดูกันว่าที่ไหนดังที่สุด เอา 10 อับดับนะคะ

1.ชื่องาน : ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน
กำหนดการ : 16-17 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
รายละเอียดกิจกรรม : ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ประกวดพระทราย การแข่งขันการละเล่นพื้นบ้าน เล่นน้ำสงกรานต์วันไหล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : เทศบาลเมืองแสนสุข โทรศัพท์ 0 3819 3523 ททท. สำนักงานพัทยา โทรศัพท์ 0 3842 7667, 0 3842 8750, 0 3842 3990
                             

2.ชื่องาน : งานประเพณีวันไหลพัทยา-นาเกลือ
กำหนดการ : 18 -20 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : สวนสาธารณะลานโพธิ์ นาเกลือ และชายหาดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
รายละเอียดกิจกรรม : ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การก่อเจดีย์ทราย การแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ประเพณีกองข้าว นาเกลือ การประกวดนางสงกรานต์ และเล่นน้ำสงกรานต์บรรยากาศชายทะเล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศาลาว่าการเมืองพัทยา โทรศัพท์ 0 3825 3231 ททท. สำนักงานพัทยา โทรศัพท์ 0 3842 7667, 0 3842 8750, 0 3842 3990
3.ชื่องาน :ประเพณีสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน - เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว
กำหนดการ : 11-18 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : บริเวณบึงแก่งนคร ถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น
รายละเอียดกิจกรรม : การแข่งขันจักรยาน MTB , การแข่งขันวอลเลย์บอล, การแข่งขันเปตองชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ , การประกวดหมากหุ่งตำลำซิ่ง, การจำหน่ายสินค้า OTOP รำวงย้อนยุค พิธีทำบุญตักบาตร  ขบวนแห่เกวียนบุปผชาติและขบวนแห่สงกรานต์ การเล่น Human Wave คลื่นมนุษย์บันทึกสถิติโลก กิจกรรมที่สร้างชื่อเสียงให้กับงานสงกรานต์ในจังหวัดขอนแก่น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : เทศบาลนครขอนแก่น โทรศัพท์ 0 4322 4032 ททท. สำนักงานขอนแก่น โทรศัพท์ 0 4324 4498-9
           
4.ชื่องาน : ประเพณีสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ ไทย-ลาว ประจำปี 2555
กำหนดการ : 11-15 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : บริเวณถนนข้าวปุ้น เขื่อนหน้าเมือง เขตเทศบาลเมืองนครพนม และในเขตเทศบาลตำบลเรณูนคร จ.นครพนม
รายละเอียดกิจกรรม :
- กิจกรรมการจัดงานในเขตเทศบาลเมืองนครพนม กิจกรรมตลาดโบราณ "ตลาดเก่าท่าน้ำเมืองนคร" ณ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง เขตเทสบาลเมืองนครพนม ที่สะท้อนวิถีชีวิตของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำโขงในอดีต ซึ่งจำลองการซื้อขาย - การแสดงวัฒนธรรม การละเล่นต่างๆ สนุกสนานเล่นน้ำสงกรานต์บนถนนข้าวปุ้น ชมการแข่งขัน กีฬาพื้นบ้าน สะบ้าทอย ชมขบวนแห่เทศกาลสงกรานต์ของชุมชน ในเขตเทศบาล พิธีฮดสรง (สรงน้ำ) พระธาตุประจำวันเกิด การประกวดนางสงกรานต์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง พิธีทอดผ้าป่ามหากุศล พระธาตุสองแผ่นดิน(พระธาตุพนม-พระธาตุศรีโคตรบอง แขวงคำม่วน สปป.ลาว)
- กิจกรรมการจัดงานในเขตเทศบาลตำบลเรณูนคร ชมการละเล่นพื้นบ้านชาวผู้ไท อาหารพื้นเมือง พิธีกรรม ความเชื่อ และการจำลองวิถีชีวิตของชาวผู้ไท และกิจกรรมวันผู้ไทโลก กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชมการฟ้อนภูไท การสาธิตแสดงการละเล่น และวิถีชีวิตของชนเผ่าภูไทในอำเภอเรณูนครชมขบวนแห่นางสงกรานต์ และการประกวดสาวงามเรณูนคร ณ บริเวณถนนวัฒนธรรม เทศบาลตำบลเรณูนคร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : เทศบาลเมืองนครพนม โทร. 0 4251 6159 เทศบาลตำบลเรณูนคร โทร. 0 4257 9239ททท.นครพนม โทร. 0 4251 3490-1
5.ชื่องาน : งานเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนคร
วันที่จัดงาน : วันที่ 11 - 15 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
กิจกรรม : มหกรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง กิจกรรมนั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์ การแสดง แสง สี เสียง ชุด “ศรีธรรมาโศกราช” และพิธีแห่นางดานหนึ่งเดียวในสยาม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : เทศบาลเมือง นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0 7534 2880-2, ททท. สำนักงานนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0 7534 6515-6 โทรสาร 0 7534 6517
6.ชื่องาน : หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์ปี 2554 จังหวัดสงขลา
วันที่จัดงาน : วันที่ 9 - 15 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : บริเวณศาลาไทย แหลมสมิหลา อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
กิจกรรม : พิธีทำบุญตักบาตร ขบวนแห่แห่พระพุทธสิหิงค์และสรงน้ำฯ พิธีรดน้ำผู้อาวุโส/ผู้สูงอายุ บริเวณศาลาไทย เล่นน้ำสงกรานต์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :  เทศบาลนครหาดใหญ่ โทร. 0 7420 0041, สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา โทร. 0 7442 9696-7, ททท. สำนักงานหาดใหญ่ โทร. 0 7424 3747

    
7.ชื่องาน : Songkran On The Beach จังหวัดภูเก็ต
วันที่จัดงาน : วันที่ 12 - 13 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : บริเวณสวนสาธารณะโลมา และเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
กิจกรรม : ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์รอบหาดป่าตอง การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การแสดงทางวัฒนธรรม และการละเล่นแบบไทย การเล่นน้ำสงกรานต์หาดป่าตอง 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ททท. สำนักงานภูเก็ต โทรศัพท์ 0 7621 1036 , 0 7621 2213 โทรสาร 0 7621 3582
8.ชื่องาน : เทศกาล "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์" กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดงาน : วัที่ 10-15 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ตลอดจนบริเวณ 9 พระอารามหลวง และพื้นที่รอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร 
รายละเอียดกิจกรรม : จำลองสงกรานต์ 4 ภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้) กิจกรรมสรงน้ำพระ การสาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรม กิจกรรมไหว้พระ 9 วัดประจำรัชกาลและพระอารามหลวง 1. วัดพระพระศรีรัตนศาสดาราม 2. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 3. วัดอรุณราชวราราม 4. วัดกัลยาณมิตร 5. วัดระฆังโฆสิตาราม 6. วัดสุทัศเทพวราราม 7. วัดบวรนิเวศวิหาร 8. วัดสระเกศ 9. วัดชนะสงคราม 10. วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 11. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม 12. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 13. วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
กิจกรรมสงกรานต์รอบเกาะรัตนโกสินทร์ : ชุมชนบางลำพู ถนนข้าวสาร ถนนพระอาทิตย์ สวนสันติชัยปราการวิสุทธิ์กษัตริย์) กิจกรรมสงกรานต์ที่บ้านเกิด กิจกรรมสงกรานต์วิถีไทย 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2250 5500 โทรสาร 0 2250 5511
เว็บไซต์ : http://www.tourismthailand.org
9.ชื่องาน : งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
วันที่จัดงาน : วันที่ 22-24 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน : บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
กิจกรรม : ขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ ขบวนนางสงกรานต์ ขบวนรถบุปชาติ การละเล่นสะบ้าของชาวไทยรามัญ การละเล่นพื้นบ้าน ประกวดหนุ่มลอยชาย การเล่นน้ำสงกรานต์แบบชาวไทยรามัญ 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ที่ว่าการอำเภอพระประแดง โทรศัพท์ 02463 4891 ต่อ 129-130, ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2250 5500 โทรสาร 0 2250 5511
 
10.ชื่องาน : งานประเพณีมหาสงกรานต์จังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2555 
กำหนดการ : 13 - 16 เมษายน 2556
สถานที่จัดงาน: บริเวณคลองส่งน้ำชลประทาน ถนนเณรแก้วด้านทิศใต้ หน้าสถานีขนส่ง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
รายละเอียดกิจกรรม : ชมขบวนแห่รถสงกรานต์ การสรงน้ำหลวงพ่อโตทองคำ การละเล่นสงกรานต์พื้นบ้าน การประกวดเทพีสงกรานต์ การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การคัดสรรสุดยอดพ่อครัว-แม่ครัวหัวเห็ดเมืองสุพรรณ และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมจากสถาบันการศึกษาต่างๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ททท.ททท. สำนักงานสุพรรณบุรี โทร. 0 3553 5789, 0 3553 6189, 0 3553 6030 0 3553 6030


---------------------------------------------------------------------------------------------